26/3/55

รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย-ประวัติศาสตร์ไทย

      นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร
      รักษาการนายกรัฐมนตรี, รักษาราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
      รัฐประหาร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki /รายนามนายกรัฐมนตรีไทย
ธงชาติของไทย   นายกรัฐมนตรีไทย   ธงชาติของไทย
(พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
ลำดับ
(สมัย)
รูปรายนามครม.
คณะที่
เริ่มวาระ
(เริ่มต้นโดย)
สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย)
ที่มา
1
(1-3)
101xxx.jpgประธานคณะกรรมการราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์)
128 มิถุนายน พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 : เลือกตั้งทั่วไป)
(อดีตกรรมการองคมนตรีในรัชกาลที่ 7)
210 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
1 เมษายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา)
31 เมษายน พ.ศ. 2476
(พระราชกฤษฎีกา)
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหาร)
2
(1-5)
Phraya Phahol.jpgพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
421 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(ลาออก)
คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
516 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
22 กันยายน พ.ศ. 2477
(ลาออก เนื่องจากสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
622 กันยายน พ.ศ. 2477
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(ลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
79 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(สภาครบวาระ)
821 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(ยุบสภา[1]
3
(1,2)
PPS 2.JPGจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม)
916 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(ลาออก เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม)
คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
107 มีนาคม พ.ศ. 2485
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(ลาออก เนื่องจากส.ส.ไม่อนุมัติร่างพ.ร.บ.และพ.ร.ก.)
4
(1)
ควง อภัยวงศ์.jpgพันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์)
111 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)
คณะราษฎร
5Tawee.jpgทวี บุณยเกตุ1231 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
17 กันยายน พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)
-
6
(1)
Mt28.jpgหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช1317 กันยายน พ.ศ. 2488
(เสนอชื่อโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน)
31 มกราคม พ.ศ. 2489
(ยุบสภา)
Free Thai insignia.svg
ขบวนการเสรีไทย
4
(2)
ควง อภัยวงศ์.jpgพันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์)
1431 มกราคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากแพ้มติสภาที่เสนอพ.ร.บ.ที่รัฐบาลรับไม่ได้)
-
7
(1-3)
Statesman.jpgปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)
1524 มีนาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
(ลาออกเพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489และให้เลือกตั้งทั่วไป)
Free Thai insignia.svg
ขบวนการเสรีไทย
-7 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8)
1611 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสรรณคตของรัชกาลที่ 8)
8
(1,2)
Ztarwann.jpgพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
1723 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(ลาออก เนื่องจากมีกระแสกดดันที่รุนแรง)
พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
1830 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร)
คณะทหารแห่งชาติ8 พฤศจิกายน พ.ศ. 249010 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
4
(3,4)
ควง อภัยวงศ์.jpgพันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์)
1910 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร)
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
2021 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
8 เมษายน พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง)
3
(3-8)
PPS 2.JPGจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม)
218 เมษายน พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 : เลือกตั้งทั่วไป)
-
2225 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง)
2329 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(รัฐประหาร)
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่)
246 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
23 มีนาคม พ.ศ. 2495
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 : เลือกตั้งทั่วไป)
2524 มีนาคม พ.ศ. 2495
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(สภาครบวาระ)
2621 มีนาคม พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
16 กันยายน พ.ศ. 2500
(รัฐประหาร)
พรรคเสรีมนังคศิลา
คณะปฏิวัติ16 กันยายน พ.ศ. 250021 กันยายน พ.ศ. 2500
9พจน์ สารสิน.jpgพจน์ สารสิน2721 กันยายน พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
1 มกราคม พ.ศ. 2501
(ลาออก)
-
10
(1)
Tanom.jpgจอมพล ถนอม กิตติขจร281 มกราคม พ.ศ. 2501
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
(ลาออกและรัฐประหาร)
-
คณะปฏิวัติ20 ตุลาคม พ.ศ. 25019 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
11Field Marsha Salit.JPGจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์299 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(ถึงแก่อสัญกรรม)
(ผู้บัญชาการทหารบก)
10
(2-4)
Tanom.jpgจอมพล ถนอม กิตติขจร309 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 : เลือกตั้งทั่วไป)
(ผู้บัญชาการทหารบกพ.ศ. 2506-พ.ศ. 2507)
317 มีนาคม พ.ศ. 2512
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(รัฐประหาร)
-
สภาบริหารแห่งชาติ18 พฤศจิกายน พ.ศ. 251417 ธันวาคม พ.ศ. 2515
จอมพล ถนอม กิตติขจร3218 ธันวาคม พ.ศ. 2515
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)
-
12Sanya Dharmasakti.jpgสัญญา ธรรมศักดิ์3314 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์)
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(ลาออก โดยอ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ)
-
3427 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 : เลือกตั้งทั่วไป)
6
(2)
Mt28.jpgหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช3515 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(ไม่ได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส.ในการแถลงนโยบาย)
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
13Kukrit pramoj.jpgหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช3614 มีนาคม พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
20 เมษายน พ.ศ. 2519
(ยุบสภา[2]
2social.gif
พรรคกิจสังคม
6
(3)
Mt28.jpgหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช3720 เมษายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
25 กันยายน พ.ศ. 2519
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์จอมพล ถนอมกลับมาอุปสมบท)
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
3825 กันยายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน6 ตุลาคม พ.ศ. 25198 ตุลาคม พ.ศ. 2519
14Priminister14 of thailand2.jpgธานินทร์ กรัยวิเชียร398 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร)
20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(รัฐประหาร)
-
คณะปฏิวัติ20 ตุลาคม พ.ศ. 252010 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
15
(1,2)
Ksak.jpgพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์4011 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด)
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 : เลือกตั้งทั่วไป)
-
4112 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)
-
16
(1-3)
Gen.prem tinsulanont.JPGพลเอก เปรม ติณสูลานนท์423 มีนาคม พ.ศ. 2523
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
30 เมษายน พ.ศ. 2526
(ยุบสภา[3]
(ผู้บัญชาการทหารบกพ.ศ. 2523-พ.ศ. 2524)
4330 เมษายน พ.ศ. 2526
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(ยุบสภา[4]
-
445 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(ยุบสภา[5]
17
(1,2)
Chatichai.jpgพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ454 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(ลาออก)
1chatthai.gif
พรรคชาติไทย
469 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(รัฐประหาร)
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25341 มีนาคม พ.ศ. 2534
18
(1)
Anand Panyarachun.jpgอานันท์ ปันยารชุน472 มีนาคม พ.ศ. 2534
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดย รสช.)
7 เมษายน พ.ศ. 2535
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 : เลือกตั้งทั่วไป)
-
19สุจินดา คราประยูร1.jpgพลเอก สุจินดา คราประยูร487 เมษายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)
-Meechai.jpgมีชัย ฤชุพันธุ์24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง)
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่)
(รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
18
(2)
Anand Panyarachun.jpgอานันท์ ปันยารชุน4910 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
23 กันยายน พ.ศ. 2535
(ยุบสภา[6]
-
20
(1)
Chuan.jpgชวน หลีกภัย5023 กันยายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(ยุบสภา[7]
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
21บรรหาร ศิลปอาชา1.jpgบรรหาร ศิลปอาชา5113 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(ยุบสภา[8]
1chatthai.gif
พรรคชาติไทย
22Chavalit.jpgพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ5225 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
ตราพรรคความหวังใหม่ (เดิม)1.gif
พรรคความหวังใหม่
20
(2)
Chuan.jpgชวน หลีกภัย539 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(ยุบสภา[9]
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
23
(1,2)
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร.jpgพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร549 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(สภาครบวาระ)
TRTP Logo.png
พรรคไทยรักไทย
5511 มีนาคม พ.ศ. 2548
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
5 เมษายน พ.ศ. 2549
(ยุบสภา[10]
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(รักษาการนายกรัฐมนตรี) [11]
19 กันยายน พ.ศ. 2549
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)19 กันยายน พ.ศ. 25491 ตุลาคม พ.ศ. 2549
24Gen.Surayuth.jpgพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์561 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี ก่อนเข้ารับตำแหน่ง)
29 มกราคม พ.ศ. 2551
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 : เลือกตั้งทั่วไป)
-
25Samak.jpgสมัคร สุนทรเวช5729 มกราคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 กันยายน พ.ศ. 2551
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง) [12]
PPP Logo.png
พรรคพลังประชาชน
26Somchai Wongsawat 15112008.jpgสมชาย วงศ์สวัสดิ์9 กันยายน พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง)
18 กันยายน พ.ศ. 2551
(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่)
PPP Logo.png
พรรคพลังประชาชน
5818 กันยายน พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี) [13]
-Chavarat.jpgชวรัตน์ ชาญวีรกูล2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง)
15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่)
(รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
27Abhisit vejjajiva.jpgอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ5917 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(ยุบสภา) [14]
Democrat Party logo.png
พรรคประชาธิปัตย์
28Yingluck Shinawatra at US Embassy, Bangkok, July 2011.jpgยิ่งลักษณ์ ชินวัตร605 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(มติสภาผู้แทนราษฎร)
9 ธันวาคม 2556
(ยุบสภา)
PheuThai Logo.png
พรรคเพื่อไทย
หมายเหตุ

เชิงอรรถ

  1. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481
  2. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519
  3. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2526
  4. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
  5. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531
  6. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
  7. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
  8. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539
  9. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
  10. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
  11. ^ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ขอลาราชการเป็นการชั่วคราว และแต่งตั้งให้พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน
  12. ^ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องในกรณีเป็นผู้ดำเนินรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ "ยกโขยง 6 โมงเช้า"
  13. ^ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมทั้งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบคนละ 5 ปี
  14. ^ ยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


ประวัติศาสตร์ไทย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราชและย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548


เนื้อหา

  [ซ่อน

การแบ่งยุคสมัย

การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า"เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[3]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย


แผนที่แสดงรัฐโบราณในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน

หลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์

นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชาวและมนุษย์ปักกิ่ง[4] ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[4] อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า
ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี[5] ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน[4] จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก[6] นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่[7]
การขุดค้นโดยนายวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี[8] ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย[9] นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี[7]

ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย

นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน[9] ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลัง[10] ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า[10]

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

รัฐโบราณในประเทศไทย

จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว[11] โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง[12]

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา
การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[13] ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก เนื่องจากมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองและราษฎร แต่ในรัชสมัยพญาลิไทก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธเข้ามา
ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:
  1. วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
  2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
ทว่า เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก[14]

สมัยอาณาจักรอยุธยา

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว
การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น
ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพสงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน
ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด[15] มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[15] ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต[15] แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล[15] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก

การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

ดูเพิ่มที่ สยาม
ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก
ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

สงครามโลกครั้งที่สอง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง
ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงครามเย็น

รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม
ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด

การพัฒนาประชาธิปไตย

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

อ้างอิง

  1. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 2.
  2. ^ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. (2542). (พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร). หน้า 3.
  3. ^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2551). ประวัติศาสตร์แห่งชาติ"ซ่อม"ฉบับเก่า "สร้าง"ฉบับใหม่. (2542). (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ). หน้า 37-67.
  4. 4.0 4.1 4.2 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 2.
  5. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 2-3.
  6. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 3.
  7. 7.0 7.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 4.
  8. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 4-5.
  9. 9.0 9.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 5.
  10. 10.0 10.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 6.
  11. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 6-7.
  12. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 7-18.
  13. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 58.
  14. ^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 3.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 17.

บรรณานุกรม

  • วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 974-13-1780-8.

ดูเพิ่ม

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ ประวัติศาสตร์ไทย