ในปี พ.ศ. 2548 เริ่มมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง ซึ่งมีความเห็นว่าทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ควรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มนี้นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหารคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่งผลให้ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารหลายกลุ่ม นำโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) เพื่อขับไล่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์
ต่อมา พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเคยเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ ชินวัตร ก่อนเหตุการณ์รัฐประหารมาแล้ว กลับมาชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนจะยุติการชุมนุม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน
ผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลทักษิณ สมัคร และสมชาย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้กลุ่ม นปช.กลับมาชุมนุมอีกครั้ง เพื่อกดดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนวันที่ 10 พฤษภาคม อภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา และผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยชนะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 |
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
เบื้องหลัง
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของทักษิณ ชินวัตร
ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถูกนักวิชาการบางกลุ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่ภายใต้ "ระบอบทักษิณ" คือ ไม่ใส่ใจต่อเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[7] นอกจากนี้ยังไม่สามารถควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการกวาดล้างขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน[8] ทั้งนี้ ประชาชนบางกลุ่มได้ใช้คำว่า "ระบอบทักษิณ" สร้างความชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ความขัดแย้งสนธิ-ทักษิณ และกรณีเมืองไทยรายสัปดาห์
สนธิ ลิ้มทองกุลเคยสนับสนุนทักษิณในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก[9] ก่อนที่นายสนธิเปลี่ยนมาเป็นโจมตีทักษิณ หลังจากที่ตนเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ[10] ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายตัวขึ้นเมื่อช่องโทรทัศน์ 11/1 ของนายสนธิถูกสั่งยุติการออกอากาศชั่วคราว จากการพิพาทในหนังสือสัญญากับผู้วางระเบียบของรัฐบาล[11][12]
กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ฝ่ายบริหารของอสมท มีมติให้ระงับการออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีอย่างไม่มีกำหนด[13][14] เนื่องจากสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ ได้อ่านบทความเรื่อง "ลูกแกะหลงทาง" ซึ่งมีเนื้อหาโดยอ้อมกล่าวหารัฐบาลทักษิณและเชื่อมโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง นายสนธิจึงเปลี่ยนเป็นการจัดรายการนอกสถานที่แทน[15]
กรณี "การละเมิดพระราชอำนาจ" และการทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ได้ตีพิมพ์การเทศนาของหลวงตามหาบัว มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างหนัก และมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่ามีการใช้อำนาจ "...มุ่งหน้าต่อประธานาธิบดีชัดเจนแล้วเดี๋ยวนี้ พระมหากษัตริย์เหยียบลง ศาสนาเหยียบลง ชาติเหยียบลง..."[16] ทำให้เกิดหัวข้อโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง และนับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้เขียนบทความกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีละเมิดอำนาจของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากการเป็นประธานในพิธีการทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน (ซึ่งโดยปกติสงวนไว้เป็นพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์)
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแล้ว[17] เช่นเดียวกับนายจักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในขณะนั้น ได้สนับสนุนและอ้างว่าสำนักพระราชวังออกแบบพิธีทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งเก้าอี้ด้วย[18] อย่างไรก็ตาม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ระบุว่า ในวันดังกล่าวไม่มีพระบรมราชานุญาติให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแต่อย่างใด[19] ต่อมา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ศาลแพ่งมีคำสั่งให้นายสนธิหยุดการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่ม[20]
กรณีการขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 73,000 ล้านบาท[21] หรือกว่า 49.61% ของหุ้นทั้งหมด[22] ทำให้ถูกโจมตีในประเด็นด้านการได้รับการยกเว้นภาษี การปล่อยให้ต่างชาติเข้าบริหารกิจการด้านความมั่นคง รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนและการหลีกเลี่ยงภาษีกำไรส่วนทุน[23]
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตรวจสอบการซื้อขายดังกล่าว โดยได้ผลสรุปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรี พินทองทา ชินวัตร ปราศจากความผิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้พบว่าบุตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ พานทองแท้ ชินวัตร ละเมิดกฎว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและข้อเสนอการประมูลสาธารณะในการซื้อขายระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการโอนภายในโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่ก็ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎ
ลำดับเหตุการณ์
การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[24] โดยหวังว่าชัยชนะอย่างถล่มถลายในการเลือกตั้งคราวนี้จะยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์ลงได้[25] พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์[26] และรณรงค์ให้ผู้ไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน[24] อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพล ระบุว่ามีผู้เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรเพียง 28%[27]
การชุมนุมต่อต้านและสนับสนุนทักษิณ
อันที่จริงการชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 โดยมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนามกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ตามด้วยการชุมนุมปราศรัยทางการเมือง ก่อนที่จะแพร่หลายขึ้นใน พ.ศ. 2548 แรงกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังกรณีการขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ป การประท้วงต่อต้านส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นสูงและพวกนิยมเจ้า ร่วมกับกลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว และพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งต่อต้านการแปรรูป รวมทั้งสถาบันการศึกษาและปัญญาชน
หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศตัวเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์[28] การชุมนุมหลายครั้งถัดมาได้ปรากฏลักษณะของความรุนแรงเพิ่มขึ้น ถึงกับรังควานนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์[29] รวมทั้งกีดขวางการจรจารและการจัดงานกาชาดประจำปี[30]
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 3 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มาชุมนุมที่ท้องสนามหลวงโดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมหาศาล ซึ่งในสื่อไทยระบุไว้ถึง 200,000 คน[31] นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางมาจากภาคเหนือและภาคอีสานเพื่อมาชุมนุมกันที่สวนจตุจักร[ต้องการอ้างอิง]
หนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งใหม่ กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินขบวนไปตามย่านการค้า สถานที่ประกอบธุรกิจและอาคารสำนักงานหลายแห่งจนต้องปิดทำการ ซึ่งคาดกันว่าสร้างความเสียหายถึง 1.2 พันล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] และในการชุมนุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ได้ก่อให้เกิดการจราจรติดขัดอย่างหนักในกรุงเทพมหานครและรบกวนการขนส่งของรถไฟฟ้า BTS อีกส่วนหนึ่ง พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และทำให้สัดส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับการชุมนุมลดลงกว่าครึ่ง[32]
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความต้องการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแทรกแซงการเมือง โดยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อยุติความขัดแย้ง เช่นเดียวกับ พธม. สภาทนายความ และสภาสื่อแห่งประเทศไทย[33][34] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสตอบแนวคิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 เมษายน ว่าการกระทำเช่นนั้น "ไม่เป็นประชาธิปไตย" "เป็นความยุ่งเหยิง" และ "ไม่มีเหตุผล"[35]
การเลือกตั้งทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 และผลที่ตามมา
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พบว่าพรรคไทยรักไทยได้รับที่นั่งในรัฐสภาถึง 460 ที่นั่ง ด้วยคะแนนเสียง 56% ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอ้างว่าเขาได้รับเสียงถึง 16 ล้านเสียง[36] อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครพรรคไทยรักไทยใน 38 จังหวัดเลือกตั้งภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 20% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชะลอผลของการเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549[37][38] พรรคประชาธิปัตย์ยื่นฎีกาต่อศาลปกครองกลางให้ยกเลิกการเลือกตั้งซ่อม[39] ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถ่วงเวลาการเปิดประชุมสภาและขัดขวางมิให้การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จทันกำหนดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ[40] เช่นเดียวกับ พธม. ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับ "นายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง"[41]
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยอิสระเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง[42] แต่พรรคประชาธิปัตย์และ พธม. ไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการดังกล่าว และในวันรุ่งขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแถลงไม่เข้ารับการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ[43] ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ลาราชการและแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน ซึ่ง พธม. ได้เฉลิมฉลองในวันที่ 7 เมษายน และประกาศว่าการกำจัดระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายต่อไป[40][44]
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8-6 เสียง ให้เพิกถอนการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[45] ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนยังได้เรียกร้องให้สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อสมาชิกดังกล่าวปฏิเสธ ศาลอาญาจึงได้สั่งจำคุกและปลดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง[46]
"แผนฟินแลนด์" และ "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"
ก่อนหน้าพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพียงหนึ่งวัน หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ผู้จัดการ ได้ตีพิมพ์บทความส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ "แผนฟินแลนด์"[47][48][49] ข้อกล่าวหา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย มีแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล่มราชวงศ์จักรีและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[50][51] พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ได้ฟ้องต่อนายสนธิ บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ และฝ่ายบริหารอีกสองคนในข้อหาหมิ่นประมาท[52]
ส่วนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนหนึ่งซึ่งพาดพิงถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"[53] ทำให้นักข่าวคาดกันว่าหมายถึงเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
กรณีคาร์บอมบ์ สิงหาคม พ.ศ. 2549
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัมได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ต.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของพล.ต.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รักษาการผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน[54]
พล.ต.อ.พัลลัภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..."[55][56] และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด"[55] ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล[57]
ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.ต.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง[58] แต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน[59]
เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 และสถานการณ์การเมืองสมัยรัฐบาลทหาร
คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินได้รัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลทักษิณ โดยได้แถลงเหตุผลของรัฐประหารไว้ใน "สมุดปกขาว"[60] สองวันถัดมา พธม. ประกาศยุติการชุมนุมและประกาศว่าภารกิจสำเร็จแล้ว[61] ภายหลังการก่อรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
คณะรัฐประหารยังได้มีการจับกุมนักการเมืองรัฐบาลทักษิณหลายคน คือ พล.ต.อ.ชิตชัย วรรณสถิตย์, นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งถูกคุมขัง ณ กองบัญชาการทหารบก[62] นอกจากนี้ ยังได้มีคำสั่งเรียกตัวนายยงยุทธ ติยะไพรัชและนายเนวิน ชิดชอบ[63] ซึ่งทั้งสองได้เข้ารายงานตัวเมื่อวันที่ 21 กันยายน[64][65] และถูกควบคุมตัวไว้ ก่อนที่ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย จะได้รับการปล่อยตัวภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว[66] เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549
หลังจากนั้น คณะรัฐประหารเริ่มการสอบสวนข้าราชการซึ่งถูกแต่งตั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณ และในการแต่งตั้งนายทหารประจำปี พ.ศ. 2550 นายทหารซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของระบอบใหม่ก็ถูกแต่งตั้งแทนที่นายทหารซึ่งภักดีต่อรัฐบาลเก่า[67][68] และเมื่อวันที่ 20 กันยายน คณะรัฐประหารได้ประกาศว่าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระอื่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่าจะต้องถูกยกเลิกทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม สถานะของจารุวรรณ เมณฑกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง[69] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาความไม่ชอบมาพากล[70] รวมทั้งมีตั้งกรรมการขึ้นตรวจสอบรัฐบาลเก่า คือ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[71]
ในระหว่างนี้ ยังได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้ปกครองประเทศต่อไป โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนเสร็จ และได้ให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้เห็นชอบคิดเป็นสัดส่วน 57.81% ของผู้มาใช้สิทธิ[72] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยบังคับใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2550
ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นการชุมนุมที่ส่งผลให้แกนนำถูกจำคุกครั้งแรกหลักจากเหตุกาณ์ดังกล่าวได้มีการตั้งแกนนำรุ่นที่สองขึ้น
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
จากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่าพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกมากที่สุด คือ 233 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับรองลงมา คือ 165 ที่นั่ง นายสมัคร สุนทรเวชเริ่มวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นรัฐบาลตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ [73] ฝ่ายพันธมิตรฯเองก็เริ่มมองว่ารัฐบาลสมัครมีพฤติการณ์ที่ส่อถึงความทุจริตหลายอย่าง เช่น การยกปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว[74] และความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ[15]
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา[75] ต่อมา กลุ่มพันธมิตรได้ทำการ "ดาวกระจาย" ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทวงถามการตรวจสอบทุจริตในรัฐบาลทักษิณ[76] รวมทั้งเร่งรัดคดีการทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช[77] และเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พธม. ได้เคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุม 9 เส้นทางเพื่อยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะย้ายกลับไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์ หลังจากมีคำสั่งของศาลแพ่งให้เปิดเส้นทาง[78]
ก่อนที่ พธม. จะเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม[79] ในวันต่อมา แกนนำ พธม. 9 คน ถูกแจ้งความในความผิดข้อหากบฏ และได้มีการปะทะกับกลุ่ม นปช. ซึ่งมีการชุมนุมบริเวณท้องสนามหลวง จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย จนมีผู้เสียชีวิต 1 คน นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช จึงประกาศการสถานการณ์ฉุกเฉินในวันเดียวกัน[80][81] จนกระทั่งยกเลิกเมื่อวันที่ 14 กันยายน[82]
เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติต้องห้าม[83] ต่อมา ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ผลปรากฏว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้รับเลือก และได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรก เมื่อวันที่ 24 กันยายน
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พธม. ได้ชุมนนุมหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อกดดันมิให้คณะรัฐมนตรีเข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในวันรุ่งขึ้น ตำรวจจึงได้เข้าสลายการชุมนุมเพื่อเปิดทางเข้าออกอาคารทั้งก่อนและหลังการประชุม จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีผู้เสียชีวิต 1[84]-2 คน และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 300 คน[85]
ปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม พธม. ได้บุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ[86] จนมีผู้โดยสารตกค้าง[87] และสร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของไทยเป็นอย่างมาก การชุมนุมดังกล่าวดำเนินไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม[88] ภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ[89] และนายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์
ภายหลังการพ้นจากตำแหน่งของนายสมชาย ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ผลปรากฏว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับคะแนนเสียงมากกว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก[90] ทำให้การเมืองพลิกขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัตตั้งรัฐบาลผสม จากเดิมที่เป็นฝ่ายค้านในรัฐบาลทักษิณ สมัครและสมชาย[91] ในขณะที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบนักการเมืองเดิมจากพรรคพลังประชาชน รัฐบาลเก่า กลายเป็นฝ่ายค้านแทน โดยมีรายงานอย่างกว้างขวางว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก บีบบังคับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนย้ายมาอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์[92]
การประท้วงและเหตุการณ์จลาจล เมษายน พ.ศ. 2552
- ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552
ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถ่ายทอดภาพมายังกลุ่มผู้สนับสนุน และกล่าวอ้างว่า ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และองคมนตรีบางท่าน คือ พล.อ.สุรยุทธ์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ได้ใช้อำนาจทหารค้ำตำแหน่งของนายอภิสิทธิ์ ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้บุคคลดังกล่าวลาออกทั้งหมด[93][94]
เมื่อวันที่ 7 เมษายน รถของนายอภิสิทธิ์ถูกกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ทุบจนกระจกแตก แต่นายอภิสิทธิ์สามารถหลบหนีไปได้[95] ในวันต่อมา กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มการชุมนุมครั้งใหญ่ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 100,000 คน และรวมตัวกันบริเวณทำเนียบรัฐบาลและรอยัลพลาซา[96] การชุมนุมดังกล่าวได้ขยายตัวไปยังพัทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 4 ในขณะที่เดินทางไปยังสถานที่ประชุมนั้น กลุ่มนปช. ได้มีการปะทะกับกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน[97] แต่ในที่สุด กลุ่มนปช. ก็สามารถบุกเข้าสถานที่ประชุม และทำให้การประชุมถูกยกเลิก[98] นายอภิสิทธิ์จึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน[99] แต่ก็ได้ประกาศยกเลิกในวันเดียวกัน[100] ในขณะที่มีคนออกความเห็นว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง โดยเฉพาะการบุกล้มการประชุมอาเซียนนั้น ทำให้รัฐบาลเสียความน่าเชื่อถือในสายตาประชาคมโลก[101] อีกทั้งยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ การประท้วงเริ่มลุกลามในเขตกรุงเทพมหานคร จนเกิดเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล และประชาชนผู้อยู่อาศัยทั่วไป จนนายอภิสิทธิ์ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบอีกแห่งหนึ่ง[102] และมีการกล่าวว่า "ถ้าใครมีความยินดีท่ามกลางความเสียหายของประเทศ จะถือว่าเป็นศัตรูของชาติ"[103] นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังออกพระราชกฤษฎีกาให้อำนาจแก่รัฐบาลในการเซ็นเซอร์การแพร่ภาพทางโทรทัศน์[104]
เมื่อวันที่ 12 เมษายน ได้มีการจับกุมแกนนำนปช. ซึ่งบุกสถานที่ประชุมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก[105] เป็นวันเดียวกับที่กระทรวงมหาดไทย ได้ถูกปิดล้อมโดยกลุ่มผู้ชุมนุม และทุบทำลายรถของนายอภิสิทธิ์และรัฐมนตรีบางคนระหว่างเดินทางออก แต่ก็สามารถหลบหนีออกมาได้ หลังจากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้กีดขวางบริเวณทำเนียบรัฐบาล สถานที่ราชการที่สำคัญ และเส้นทางการจราจรทั้วกรุงเทพมหานคร
วันที่ 13 เมษายน ทหารในเครื่องแบบเต็มชุดได้สลายการชุมนุมที่แยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บราว 70 คน[106] ส่วนทางกลุ่มนปช. ได้มีการกล่าวอ้างว่ามีผู้เสียชีวิต 1 คน จากกระสุนปืนของทหาร ส่วนฝ่ายกองทัพได้ออกมาปฏิเสธ ในวันเดียวกันยังได้มีการปิดสถานีดีสเตชัน[107] และวิทยุชุมชนบางแห่ง เนื่องจากต้องสงสัยว่าสนับสนุนกลุ่มนปช.[108] เหตุปะทะกันยังคงมีขึ้นในหลายจุดของกรุงเทพมหานคร และได้มีหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำนปช. อีก 13 คน[109] ในช่วงดึก ได้มีกลุ่มคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวชุมชนนางเลิ้ง ปะทะกับกลุ่มคนเสื้อแดงจนชาวชุมชนนางเลิ้งเสียชีวิต 2 คนจากกระสุนปืน[110]
ในวันที่ 14 เมษายน แกนนำนปช. หลายคนยอมมอบตัว การชุมนุมจึงสงบลง[109] แม้ว่าผู้ชุมนุมบางส่วนจะยังคงชุมนุมกันต่อไป สถานการณ์ฉุกเฉินมีผลจนถึงวันที่ 24 เมษายน นายกรัฐมนตรีจึงประกาศยกเลิก[111] สำหรับตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 120 คน ระหว่างการชุมนุม[112]; ในเวลาต่อมา ได้พบศพ นปช. 2 คน ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทางตำรวจสรุปว่าเป็นการฆาตกรรมด้วยชนวนเหตุทางการเมือง[113]; กลุ่มนปช. กล่าวอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน แต่ศพได้ถูกฝ่ายทหารเอาไปซ่อน แต่ทางกองทัพปฏิเสธ[114]
เหตุการณ์ลอบยิงสนธิ
แกนนำ พธม. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกลอบยิงเมื่อเช้าวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยมือปืนได้ใช้อาวุธสงครามกราดยิงรถของนายสนธิกว่า 100 นัด นายสนธิและคนขับรถได้รับบาดเจ็บ[115] กลุ่มมือปืนดังกล่าวได้หลบหนีเมื่อผู้ติดตามของนายสนธิในรถอีกคันหนึ่งใช้ปืนเปิดฉากยิงใส่ นายสนธิถูกกระสุนเข้าที่ศีรษะ ก่อนจะได้รับการผ่าตัดในเข้ารักษาที่โรงพยาบาล[116] นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล บุตรชายของนายสนธิ กล่าวประณามว่าว่ามีทหารหรือคนในรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว[117]
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว[118] และอ้างต่อไปว่าเขา นายอภิสิทธิ์ นายกรณ์ จาติกวาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลัง และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตกเป็นเป้าหมายของแผนการลอบสังหารด้วยเช่นกัน[119]
สำหรับสาเหตุของการลอบยิงนั้น นายสนธิกล่าวว่า เพราะ "ผมไปเปิดโปงสุภาพสตรีคนหนึ่ง ซึ่งในภาพแสดงออกว่าเป็นคนใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท" แต่มิได้ระบุว่าเป็นผู้ใด[120]
การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษายึดทรัพย์มูลค่า 46,000 ล้านบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร[121] เย็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ระเบิดเอ็ม 67 ถูกโยนมาจากมอเตอร์ไซค์ด้านนอกธนาคารกรุงเทพสามสาขา[122][123][124][125] ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มผู้ประท้วง นปช. ได้มาบรรจบกันที่กรุงเทพเพื่อแสดงความต้องการให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศเลือกตั้งใหม่ การเคลื่อนไหวดังกล่าว นำโดย นปช. ประกอบด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตย กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต่อมา ได้มีการประท้วงโดยการรับบริจาคเลือดของผู้ชุมนุมไปเทด้านนอกของบ้านพักนายกรัฐมตรีอภิสิทธิ์[126]
สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเมื่อวันทั้ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยผู้ชุมนุมได้เข้ายึดสถานีเผยแพร่โทรทัศน์ ทำให้นายกรัฐมนตรีกล่าวให้สัญญาว่าจะฟื้นฟูประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ[127][128] วันที่ 11 เมษายน การปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและทหารทำให้มีผู้เสียชีวิต 18-19 คน (ในจำนวนนี้มีทหาร 1 นาย) และอีกมากกว่า 800 คน ได้รับบาดเจ็บ[129][130][131] เมื่อวันที่ 15 เมษายน ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 ศพ[132]
ความตึงเครียดยังดำเนินต่อไป เมื่อมีการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลปรากฏขึ้นพร้อมกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล วันที่ 22 เมษายน เหตุระเบิดหลายครั้งในกรุงเทพมหานครทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 85 คน ในจำนวนนี้มีชาวต่างชาติ 4 คนรวมอยู่ด้วย เหตุระเบิดบางส่วนเกิดขึ้นจากระเบิดมือ รัฐบาลกล่าวหาว่าพฤติการณ์ดังกล่าวมาจากที่พักของกลุ่มคนเสื้อแดง[133][134] คำกล่าวหาดังกล่าวได้รับการปฏิเสธอย่างชัดเจนจากผู้นำการชุมนุม ผู้ซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นแผนการที่เตรียมไว้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมโดยสงบ
วันที่ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีประกาศว่าเขามีความต้องการจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน ซึ่งในวันรุ่งขึ้น ผู้นำการชุมนุมประกาศยอมรับข้อเสนอที่จะยุติการชมนุมเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปตามแผนกำหนดเดิม แต่ได้มีการเสนอรายละเอียดของแผนเพิ่มเติม เมื่อปรากฏชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีกระบวนการทางกฎหมายดำเนินคดีกับผู้นำบางคนในรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สังหารกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป
วันที่ 14 พฤษภาคม ตำรวจและทหารพยายามที่จะล้อมและตัดที่พักหลักของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้มีการปะทะกับกลุ่มคนเสื้อแดงและมีผู้เสียชีวิต 10 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 125 คน รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติบางคน วันเดียวกัน นายทหารนอกราชการ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ถูกยิงด้วยปืนไรเฟลซุ่มยิงระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ[135] วันรุ่งขึ้น ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 175 คน ผู้นำการชุมนุมเตือนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจปะทุขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองได้ ทหารได้ตั้งเขตกระสุนจริงขึ้นใกล้กับกลุ่มผู้ชุมนุมและยิงทุกคนในพื้นที่ที่พบเห็น[136]
จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะกันตามท้องถนนเพิ่มขึ้นเป็น 35 ศพ โดยในจำนวนนี้ 1 ศพเป็นทหาร[137] ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มในอีก 5 จังหวัดเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมจากต่างจังหวัดเดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม[138]
วันที่ 19 พฤษภาคม กองทัพ พร้อมรถลำเลียงหุ้มเกราะเข้าโจมตีค่ายผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน และผู้สื่อข่าวชาวอิตาลี 1 คน ผู้นำกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมดยอมมอบตัวหรือพยายามหลบหนี ได้เกิดเหตุจลาจลทั่วกรุงเทพมหานครเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถูกบีบบังคับให้ออกจากค่าย ได้มีการวางเพลิงซึ่งทำลายศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์และอาคารอื่น ๆ[139]
ยอดความสูญเสียทั้งหมดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม อยู่ที่ 85 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,378 คน[140]
ดูเพิ่ม
- สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน
- คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
- เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์
- การเมืองภาคประชาชน
- การเมืองใหม่
- การดื้อแพ่ง
- อหิงสา
อ้างอิง
- ^ Reporters Without Borders. Thailand. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Nation. Junta's bills stifle free expression in run-up to vote. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Thomas Bell. Thailand analysis: 'land of smiles' becomes land of lies. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Nation. Political stability is topmost priority. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ maesotcity.com. สื่อนอกชี้ทางเลือกวิกฤตการเมืองไทย “ยุบสภา-ลาออก-รัฐประหาร”. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Frank G. Andersen. Lese majeste in Thailand. UPI Asia.com. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ แก้วสรร อติโพธิ. หยุดระบอบทักษิณ. ค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ Thailand War on Drugs Turns Murderous, 600 Killed This Month. StoptheDrugWar.org. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2553.
- ^ The Nation. Old views haunt govt critic. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Nation. The Truth about Thaksin, Sondhi. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ "UBC complies, drops channel", Bangkok Post, 2004-07-02
- ^ "UBC to resume televising Channel 11/1", Bangkok Post, 2004-07-08
- ^ "Ch 9 drops Sondhi for royal references", The Nation, 2005-09-16
- ^ "Monastic feud could lead to a schism", The Bangkok Post, 2005-03-05
- ^ 15.0 15.1 Jonathan Head. Rifts behind Thailand's political crisis. BBC News. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ "หลวงตามหาบัว เทศน์เรื่อง “เทวทัตยังรู้โทษ” ฉบับเต็ม". ASTVผู้จัดการออนไลน์.http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000132593. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-09-21.
- ^ The Nation. Premier had ‘approval from King’. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ The Nation. PM’s Office dismisses report in 'Phujadkarn'. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ ASTV ผู้จัดการออนไลน์. ประมวลข่าว ลิ่วล้อเคลื่อนพล-ระดมฟ้อง"สนธิ"หมิ่นฯ! (หน้า 2). สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ The Nation. Court issues gag order on Sondhi. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ Bloomberg. Thai Prime Minister Thaksin's Family Sells Shin Corp. (Update2). สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ The Age. Thai PM rings up a billion reasons for family affair. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ AsiaMedia. SINGAPORE: Temasek's acquisition of Shin Corp. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ 24.0 24.1 สถาบันนโยบายการศึกษา. บทเรียนการเมืองจากคดียุบพรรค (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Jeerawat Na Thalang . Thaksinocracy: just the same old patronage system?. The Nation. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2553
- ^ ทรท.เมินฝ่ายค้านเล่นบทบอยคอต. FTA Watch อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ สวนดุสิตโพล. สวนดุสิตโพลล์: ความคิดเห็นของ ประชาชน เกี่ยวกับการ บอยคอต หรือ ไม่ร่วมสังฆกรรม ในการเลือกตั้ง ส.ส. ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ 2bangkok.com. A tale of two newspapers: Gaining strength or losing steam? 5,000 or 100,000?. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ The Nation. Non-violence is not simply the absence of physical violence. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ^ The Nation. PAD tells top police it will not budge. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ "PRO-GOVERNMENT RALLY: Thaksin on warpath", The Nation, 2006-03-08. สืบค้นวันที่ 2006-09-21
- ^ "Thaksin faces last pre-poll rally". soc.culture.thai. Google Groups.http://groups.google.com/group/soc.culture.thai/browse_thread/thread/137a53e8608e0b14/6c6d083fdab462ee#6c6d083fdab462ee. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-09-21.
- ^ The Nation. LEADERSHIP CRISIS King the only hope for end to deadlock, say PAD protesters. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. PREMIERSHIP Replace PM, professionals urge Palace. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. HM the King's April 26 speeches (unofficial translation). สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ "Thai Rak Thai win 16 million votes : Thaksin", The Nation. สืบค้นวันที่ 2006-09-21
- ^ The Nation. 38 one-horse candidates fail. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ "Second round of elections be held on April 23", The Nation. สืบค้นวันที่ 2006-09-21
- ^ "Democrat executive asks court to cancel 2nd round of election", The Nation. สืบค้นวันที่ 2006-09-21
- ^ 40.0 40.1 "Thai rally toasts Thaksin's exit", CNN.com, 2006-04-07. สืบค้นวันที่ 2006-09-21
- ^ The Nation. PAD ignores vote results. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Thomas Fuller. Thailand Leader Cushions Claim of Ballot Victory. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. I will not accept post of premier in the next government : Thaksin. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. PAD leaders swear to fight on to eradicate Thaksin regime. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ "Constitution Court invalidate the April election and order new election". The Nation.http://nationmultimedia.com/2006/05/08/headlines/headlines_30003512.php. เรียกข้อมูลเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006.
- ^ "EC Commissioners arrive at Bangkok Remand Prison". The Nation.http://nationmultimedia.com/2006/07/25/headlines/headlines_30009521.php. เรียกข้อมูลเมื่อ 25 กรกฎาคม 2549.
- ^ คำนูณ สิทธิสมาน. ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ทักษิณ. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ คำนูญ สิทธิสมาน. ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และ...ปฏิญญาฟินแลนด์. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ ปราโมทย์ นาครทรรพ. ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์: แผนเปลี่ยนการปกครองไทย?. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Weerayut Chokchaimadon. Thaksin clearly wanted republic, critics charge. The Nation. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Wassayos Ngamkham. THAILAND: Sondhi expands on 'Finland Plan'. Bangkok Post via AsiaMedia. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ THAILAND: Manager sued for articles on 'Finland plot'. Bangkok Post via AsiaMedia. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. POLITICAL BATTLE: Sondhi files complaint over PM's ouster claim. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. It is not a hoax : police spokesman. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ 55.0 55.1 The Nation.http://nationmultimedia.com/2006/08/25/national/national_30011902.php 'If I was behind it, PM would be dead']. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. Army officer arrested in alleged car bomb attempt is Pallop's driver: police. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. 'Car bomb' a govt ploy, ex-security chief alleges. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Jonathan Head. Thai arrests over Thaksin 'plot'. BBC. 7 September 2006
- ^ The Nation. Car-bomb suspects get bail. 30 September 2006
- ^ กรุงเทพธุรกิจ. สมุดปกขาว คมช. เหตุยึดอำนาจ. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ Anti-Thaksin alliance dissolved. Xinhua via People's Daily Online. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ^ The Nation. Govt heavies flee after many held. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. Yongyuth and Newin ordered to report themselves to ARC. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. Urgent: Newin reports to ARC. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. Urgent : Yongyuth reports to ARC. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. Four key men under Thaksin freed : Sonthi. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ Wassana Nanuam, Yuwadee Tunyasiri. Sonthi loyalists put in key military positions.Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ Veera Prateepchaikul. Mid-year reshuffle completes the Thaksin purge. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. ARC issues order to maintain Jaruvan's status. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. GLO chief resigns. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ AsianLii. Inspection of Acts being Detrimental to the State - Announcement of the Council for Democratic Reform No. 30. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ แนวหน้า. ธีรยุทธสับเละรบ.ลูกกรอก1 ชั่วครองเมือง ชี้แก้รธน.เพื่อตัวเองพังแน่. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ The Nation. PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ^ Daily Xpress. Political passions run high. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ ASTVผู้จัดการออนไลน์. พันธมิตรฯ ไม่หวั่นเดินหน้าบุก ก.ล.ต.-DSI เปิดโปงพิรุธคดี “แม้ว”. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ The Nation, PAD rally to support EC will see streets closed June 16, 2008.
- ^ The Nation. [DAILY XPRESS PAD suffers reverse]. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ BBC. Thai protesters 'want new coup'. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 144 ง หน้า 1. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 144 ง หน้า 4-5. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ UPI. Bangkok state of emergency lifted. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ ศาลรัฐธรรมนูญ. สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๒-๑๓/๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ Seth Mydans & Thomas Fuller. Hundreds Injured in Thai Protests. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ AFP. Thai protest leaders say they will surrender. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ Marwaan Macan-Markar. POLITICS-THAILAND: Heading For Mobocracy?. IPS. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ The Nation. About 3,000 outbound passengers still stranded at Suvarnabhumi. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ The Nation. PAD cease all anti-government protests. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ ศาลรัฐธรรมนูญ. สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ^ "New Thai prime minister elected", BBC news, 05:53 GMT, Monday, 15 December 2008. สืบค้นวันที่ 2008-12-15
- ^ BBC News. Thai opposition 'set for power'. 10 December 2008
- ^ Thomas Bell. Thai army to 'help voters love' the government. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Thomas Bell. Thai protesters bring Bangkok to a halt. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ คมชัดลึก. แถลงการณ์เสื้อแดงจี้"เปรม-สุรยุทธ์-ชาญชัย-มาร์ค"ลาออกทันที. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ BBC. Asia-Pacific | Thai PM's car hit by protesters. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Reuters India. UPDATE 4-Anti-govt rally in Bangkok, PM says Asia summit on. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Nirmal Ghosh. LIVE: Flashpoint Pattaya. The Strait Times. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Thomas Fuller. Thailand Cancels Summit After Protests. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 53 ง. หน้า 1. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ เรื่อง ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 54 ง. หน้า 1-2. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ http://www.rsunews.net/Think%20Tank/TT205/WhatIsTheWayOut.htm สืบค้นเมื่อ 26-10-2553.
- ^ BBC. Troops in Thai emergency patrols. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Age. Sacrificing democracy won't end Thailand's chaos. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Committee to Protect Journalists. Thai government issues censorship decree. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Alan Raybould. Thai ministry stormed after state of emergency declared. The Vancouver Sun via Reuters. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Times Online. Thai troops open fire on protesters in Bangkok. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ กรุงเทพธุรกิจ. ไทยคมตัดสัญญาณโทรทัศน์D-Stationแล้ว. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ MCOT. Community radio stations ordered to close temporarily. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ 109.0 109.1 Jonathan Watts. Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence.The Guradian. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ คมชัดลึก. คนชุมชนนางเลิ้งปะทะเสื้อแดงดับ2. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร.... เล่ม 126 ตอนพิเศษ 60 ง. หน้า 1-2. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ BBC. Army pressure ends Thai protest. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Straits Times. Police probe 'Red Shirt' deaths. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ MCOT. Thai army chief: No deaths in operation to break red-shirt protest. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Bloomberg. Thai Anti-Thaksin Protester Recovers After Shooting (Update1). สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Times. Thailand's Yellow Shirt leader Sondhi Limthongkul survives assassination attempt. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ The Nation. Sondhi's son alleges "Gestapo" behind his father's assassination attempt. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Bangkok Post. Thaksin accused of being behind attack on Sondhi. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Richard S. Ehrlich. Assassins Haunt Thailand's Government after Insurrection Is Crushed.The Seoul Times. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ ASTVผู้จัดการออนไลน์. “สนธิ” เปิดใจครั้งแรก เบื้องลึกปมลอบยิง โยงทหารฮั้วการเมืองเก่า. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ^ Bangkok Post, Court confiscates B46bn of Thaksin's assets, 26 February 2010
- ^ The Nation, PM pleads for public calm following several Bangkok bomb attacks, 28 February 2010
- ^ Bangkok Post, Stringent security measures invoked, 28 February 2010
- ^ Bangkok Post, UDD denies link in bomb attacks, 28 February 2010
- ^ Bangkok Post, Warrant issued for bomb suspect, 1 March 2010
- ^ Bangkok Post, Reds pour, throw blood at PM's home, 17 March 2010
- ^ CCTV International, Thai "red-shirts" win back PTV broadcasting after raid on Thaicom, 10 April 2010
- ^ XINHUANEWS, Thailand's PM vows to restore normalcy quickly, 10 April 2010
- ^ "Bangkok death toll climbs to 21", BBC News, 11 April 2010
- ^ Al Jazeera English, Bloodiest Thai clashes in 18 years, 11 April 2010
- ^ NST Online Australia, Australia 'very concerned' over Thailand clashes, 11 April 2010
- ^ "Number of fatalities rises to 24; Protesters vow to stay at Ratchaprasong", 15 April 2010. สืบค้นวันที่ 15 April 2010
- ^ "'Terrorists' blamed for attacks amid Thai deadlock", BBC News, 23 April 2010. สืบค้นวันที่ 23 April 2010
- ^ "Bangkok grenade blasts kill 3, deputy PM says", 'National Post', 22 April 2010. สืบค้นวันที่ 22 April 2010[ลิงก์เสีย]
- ^ http://news.xinhuanet.com/english2010/world/2010-05/14/c_13295326.htm
- ^ Doherty, Ben. "Redshirts warn of civil war as Thai troops told to shoot on sight", The Guardian, 15 May 2010
- ^ The Straits Times, May 16, 2010: Bangkok Death Toll Rises to 35
- ^ Daniel, Zoe. "Australian embassy in Bangkok shuts doors", May 17, 2010. สืบค้นวันที่ May 23, 2010
- ^ McElroy, Damien. "Bangkok in flames as protesters refuse to back down", May 19, 2010. สืบค้นวันที่ May 23, 2010
- ^ "PM vows to seek truth". Bangkok Post. 22 May 2010.http://bangkokpost.com/news/politics/178754/pm-vows-to-seek-truth. เรียกข้อมูลเมื่อ 22 May 2010.