28/3/55

Articles /Alumni



รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration   หรือ  political and administrative science เป็นวิชาว่าด้วยการบริหารและการปกครองรัฐ(ท้องถิ่น-ส่วนกลาง)เพื่อให้ได้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณสูงสุด  สถาบันการศึกษาบางแห่งใช้คำว่าการบริหารรัฐกิจ  พูดง่ายๆก็คือวิชาว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง  จะเป็นแผ่นดินที่มีงบประมาณเล็กๆ ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา หรือท้องถิ่นที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ที่มาจากภาษีที่จัดเก็บได้ในท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่หลายระดับชั้นอาทิเช่น  องค์การบริหารส่วนตำบล  เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร หรือเขตปกครองพิเศษเช่นกรุงเทพหรือพัทยา ก็ว่ากันไปครับ
วิชา นี้กล่าวรวมๆคือเป็นวิชาว่าด้วยการรับใช้สาธารณะ ในทุกๆรูปแบบ นับตั้งแต่การจัดเก็บภาษี การฝังเมือง การประชากร ฯลฯ มีคำจำกัดความที่ให้ไว้เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์กันอยู่มากมายหลายความหมาย อาทิเช่น รัฐประศาสนศาสตร์เป็นโปรแกรมสาธารณะที่ว่าด้วยเรื่องการจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ฯลฯ แต่ในความเห็นของผู้เขียนได้ให้คำจัดกัดความว่า รัฐประศาสนศาสตร์หมายถึงการบริหารจัดการรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลสูงสุดภายใต้นโยบายทางการเมือง
                หลายท่านอาจมีความเห็นที่แตกต่าง แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่า ทั้งสองเรื่อง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จะต้องไปด้วยกันแบบฝาแฝดอิน-จัน เหตุผลเพราะว่าการเมืองเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร การบริหารราชการต้องสอดคล้องกับทิศทางทางการเมืองบนผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน   
มีนักรัฐศาสตร์-รัฐประศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังผู้หนึ่ง ชื่อว่า ศาสตราจารย์ แมรี อี กาย แห่ง Askew School of Public Administration & Policy  - Florida State University       ซึ่งเป็นอดีต president of Southern Political Science Association , President  of  American Society for Public Administration  etc. ได้ให้ความเห็นซึ่งอ้างอิงไว้ในงานดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ “PUBLIC ADMINISTRATION AND POLITICAL SCIENCE” ของ HIBA KHODR  แห่ง The Askew School of Public Administration and Policy กล่าวเอาไว้ สรุปความว่า “ใครก็ตามที่พยายามแยกรัฐประศาสนศาสตร์ ออกจากรัฐศาสตร์เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง”
                ความจริงแล้วผมไม่อยากอ้างอิงงานวิจัยของนักวิชาการท่านใดโดยไม่จำเป็น มันดูเหมือนกับว่าเราพยายามอ้างอิงงานของผู้อื่น เพื่อทำให้ตัวเองดูดีขึ้น ยิ่งอ้างอิงคนใหญ่คนโตในแวดวงวิชาการ ยิ่งได้เครดิต ยิ่งน่าเชื่อถือ  แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นในแวดวงวิชาการทั้งนี้เพื่อป้องกันการแอบ อ้างเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในแวดวงวิชาการ   ในความเห็นของผม ผมคิดว่า การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ทางสังคมศาสตร์น่าจะทำวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการในแต่ละ สถาบันการศึกษาด้วย เนื่องเพราะวิสัยทัศน์ มุมมอง และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันนั่นเอง
งาน วิจัยบางอย่างในทางรัฐประศาสนศาตร์ เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาหรือตอบโจทย์ในจุดหรือสถานที่ทำการวิจัยเล็กๆเท่า นั้น  ไม่ได้เป็นภาพกว้างดังเช่นรัฐศาสตร์ ไม่ได้เกิดแนวคิดทฤษฏีใหม่ๆในทางวิชาการแต่อย่างใดที่ชัดเจน และไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่หลวงแบบแนวคิดทางรัฐศาสตร์
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเคลื่อนตัวของทิศทางนโยบายทางการเมืองสู่วิธีการ ปฏิบัติ ประชาชนสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลในระดับ ต่างๆ  ซึ่งอาจจะเป็นการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะไปในตัวด้วย ฯลฯ
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศูนย์กลางขององค์กรภาครัฐทุกส่วนที่ขับเคลื่อนเพื่อบริการให้แก่ประชาชน   เป็นแหล่งรวมนโยบายของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนถึงรัฐบาลกลาง  ตามโครงการต่างๆใน แผนระยะยาว ระยะกลาง ระยะสั้น ตลอดจนแผนเร่งด่วนของหน่วยงานราชการทั้งหลาย นอกจากนี้  รัฐประศาสนศาตร์ยังเป็นศาสตร์ที่ศึกษารวมถึงพฤติกรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นข้าราชการที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งแบบนักการเมือง  
                ข้าราชการประจำเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารรัฐโดยภาพรวม ตามหลักวิชาการ  ส่วนนักการเมืองเป็นผู้กำหนดทิศทางของแผนในระยะต่างๆโดยให้สอดคล้องกับความ ต้องการของเจ้าของภาษีละสภาพแวดล้อมทางการเมืองของท้องถิ่น การเมืองระดับประเทศ และการเมืองระดับโลก  
                ผู้รับใช้สาธารณะหรือข้าราชการ อันได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาล ปลัดอำเภอ ปลัดจังหวัด และปลัดกระทรวง โดยมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานภายใต้สังกัด  เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายฝ่ายการเมืองให้ไปสู่ความสำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อประชาชนตามบทบาทและหน้าที่
                ในสหรัฐอเมริกา อดีตประธานาธิบดี Woodrow Wilson สนับสนุนให้มีการปฏิรูปการบริการประชาชนในปี ค.ศ. 1880   และผลักดันให้รัฐประศาสนศาสตร์ ศาสตร์จากแนวทางปฏิบัติให้เป็นศาสตร์ในแนวทางวิชาการ  อย่างไรก็ตาม Max Webber นักสังคมวิทยาชื่อดังของเยอรมันกล่าวไว้ใน ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการบริหารราชการของเขาว่า “ไม่มีอะไรที่น่าสนใจมากในทฤษฏีเกี่ยวกับทางรัฐประศาสนศาสตร์”
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์รวมของสาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐ ซึ่งประกอบด้วยหลักใหญ่ๆดังต่อไปนี้  1. ทรัพยากรมนุษย์(Human resource)2. ทฤษฏีองค์การ(organizational theory) 3. นโยบาย(policy) 4. การวิเคราะห์ (analysis) 5. สถิติ(statistics)  6. การงบประมาณ(budgeting) และ 7. หลักศีลธรรม(ethics)
                นักวิชาการบางท่านกล่าวอ้างว่า รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่ได้รับการยอมรับในคำจำกัดความในเชิงวิชาการ  เหตุผลเพราะว่า ขอบเขต(scope)ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นเรื่องใหญ่ที่ครอบคลุมหลากหลายสาชาวิชา และสามารถถกเถียงกันได้ในหลายมุมมองแบบไม่มีข้อยุติ มากกว่าจะเป็นคำจำกัดความ(define) แบบวิชารัฐศาสตร์ นักวิชาการชื่อดัง  Donal Kettl เป็นผู้หนึ่งที่มองว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์
                อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่งมีความเห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์ควรแยกออกจากรัฐศาสตร์ เหตุผลเพราะว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาชีพ มากว่าเป็นวิชาการในแนวทางทฤษฏีแบบรัฐศาสตร์  ในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า การที่นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะว่า รัฐประศาศนศาสตร์ควรเป็นสาขาวิชาที่ตั้งมั่นในหลักการทางวิชาการมากกว่าการ ตอบสนองความต้องการทางการเมือง ของนักการเมือง  นโยบายทางการเมืองสามารถพลิกผันได้ทุกวินาที ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆฯลฯ
                จากมุมมองทางด้านวิชาการของ  The National Center for Education Statistics(NCES) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความ รัฐประศาสนศาสตร์เอาไว้ว่า “รัฐประศาสนศาสตร์เป็นโปรแกรมที่ตระเตรียมบุคคลากรเพื่อการบริหารรัฐในรัฐบาลท้องถิ่น  และรัฐบาลกลาง
                ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการบริหารที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนใน องค์กร เราพบเห็นอยู่เสมอๆว่า งานวิจัยบางชิ้นสามารถตอบโจทย์ทางการวิจัยในสถานที่ทำการวิจัยแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ในสถานที่อื่นๆในบริบทเดียวกัน เนื่องเพราะผู้ปฏิบัติเป็นคนละคนกัน ฐานคิดคนละฐาน ฐานความรู้คนละแหล่ง ฐานข้อมูลไม่เหมือนกัน ตลอดจนวิสัยทัศน์และ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน    นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ทฤษฏีทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ไม่ได้รับการยอมรับ กันอย่างกว้างขวางดังเช่นวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์
                โดยความเป็นจริงแล้ว รัฐประศาสนศาสตร์อยู่คู่กับรัฐศาสตร์มาตั้งแต่ช้านานตั้งแต่สมัยโบราณกาล  ในอดีตกาล มนุษย์ในยุคหิน ที่เริ่มจากยุคต่างคนต่างอยู่ ถ้ำใครถ้ำมัน  ต่างคนต่างทำมาหากิน ต่อมาได้ขยายเผ่าพันธุ์ จนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นชุมชน  การรวมกลุ่มของคนในอดีตอาจเนื่องมาจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยส่วนตน ปัญหาเรื่องปากท้อง ฯลฯ  การมาอยู่รวมกันเป็นชุมชนต้องมีผู้ปกป้องชุมชน ซึ่งเราเรียกกันว่าหัวหน้าชุมชน หัวหน้าเผ่า  หัวหน้ารัฐใดรัฐหนึ่ง  หรือกษัตริย์ แล้วแต่จะเรียกขาน  เมื่อรัฐใดมีการจัดการด้านบริหารรัฐที่ดี  ประชาชนขวัญกำลังใจดี  มีการจัดเก็บภาษีได้มาก  เหลือเฟือ ก็ทำให้รัฐนั้นเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นไปเรื่อยๆ  ต่อจึงมีการสะสมกำลังพลและอาวุธยุทธโธปกรณ์เพื่อป้องกันผลประโยชน์และ พลเมืองในรัฐเป็นพื้นฐาน  กาลเวลาต่อมาผู้ปกครองรัฐบางคนอาจมีความทะเยอทะยาน อยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาล  อยากได้รัฐอื่นมาเป็นบริวาร ทั้งนี้เพื่อสะสมผลประโยชน์และการกระจายผลประโยชน์ไปสู่วงค์วานว่านเครือ การขยายรัฐ การตีเมืองขึ้นและส่งลูกหลานตนเองไปครองแผ่นดินที่ยึดครอง ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ปกครองรัฐตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน  
การ บริหารรัฐเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้รัฐดำรงอยู่ได้ตามนโยบายของฝ่าย การเมืองที่กุมอำนาจรัฐ  การเมืองเป็นที่มาของการบริหารที่ดีหรือเลว ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่า  รัฐประศาสนศาสตร์ต้องเดินความคู่ไปกับรัฐศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทาง ปฏิบัติตามความเป็นจริง  หากใครพยายามแยกรัฐศาสตร์ออกจากรัฐประศาสนศาสตร์แสดงว่าไม่เข้าใจอย่าง ชัดเจนลึกซึ้งในเรื่องรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ที่กล่าวถึง (อำนาจรัฐ(State Power) การใช้อำนาจรัฐ(The use of State Power)และการบริหารรัฐ(State Administration)
                อย่างไรก็ตามรัฐประศาสนศาตร์และรัฐศาสตร์มักมีความขัดแย้งในแนวคิดอยู่เสมอ มา  นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ที่มีความคิดขัดแย้งกัน  แต่นักวิชาการตลอดจนประชาชนทั่วๆไปหลายท่านยังเชื่อว่าความขัดแย้งเป็น เรื่องที่เสียหายต่อการบริหารรัฐ
ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ความขัดแย้งในเรื่องการใช้อำนาจ และการบริหารรัฐตามกฎระเบียบและ ตามหลักวิชาการเป็นเรื่องที่ดี และถือว่าเป็นหัวใจสำคัญสูงสุดของการบริหารรัฐ  เหตุผลเพราะว่า หากฝายการเมือง(นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน)และเจ้าหน้าที่ของรัฐ(ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน)ขัดแย้งกัน ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดำเนินการใดๆที่ไม่สุจริตและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ข้อมูลต่างๆจะหลั่งไหลลงสู่สาธารณะชนได้มาก ถึงมากที่สุด และจะเกิดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งสองฝ่ายจากประชาชนในท้ายที่สุด   ผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยกับนักวิชาการหลายท่านที่มีความเห็นว่าฝ่ายการเมืองและฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ(ข้าราชการ)ต้องเป็นเอกภาพ มีน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการบริการประชาชนและจัดทำโครงการสาธารณะต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีของประชาชน
 ในเรื่องนี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย
1. หากเรื่องที่ฝ่ายรัฐทั้งข้าราชการฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ดำเนินการไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีนอกมีใน มีผลประโยชน์เป็นส่วนตน ส่วนกลุ่ม ส่วนพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี  น่าสนับสนุน ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด
2. แต่ถ้าหากว่าฝ่ายข้าราชการประจำและฝ่ายการเมืองผู้กุมนโยบายรัฐ มีเอกภาพ มีความสามัคคีกัน  แต่กลับดำเนินการใดๆที่เป็นผลเสียหายต่อรัฐและประชาชน ก็จะไม่มีใครไปตรวจสอบข้อเท็จจริง  เพื่อมาตีแผ่ให้ ประชาชนได้ทราบอย่างชัดเจน 
 จริง อยู่ ถึงแม้ว่าในสภาฯ จะมีการตรวจสอบโดยฝ่ายค้าน แต่เอกสารทางราชการ ที่เป็นเรื่องลับ จะถูกปกปิดจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้าย  กว่าประชาชนจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็สายเกินไปเสียแล้ว   เกิดผลเสียหายและผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ดังที่ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมในประเทศไทยและทั่วโลก

ดร.วิชญ์พล  ผลมาก
ผู้เขียน


Crown University Alumni